Back to Basic : Understanding the sunny 16 Rule in photography

SUNNY 16 RULE … คำนวณแสงง่ายๆด้วยกลเม็ดขั้นเทพ

กล้องถ่ายภาพในอดีตไม่มีแม้เครื่องวัดแสง ก็อาศัยแดดและการคำนวณเวลาจากประสบกาณ์ในการถ่ายภาพลงกระจก จนพัฒนามามีเครื่องวัดแสงแบบเข็มแบบตัวเลข แบบดิจิทัล ลงฟิล์มและเซ็นเซอร์ตามลำดับ แต่มีหลักการคำนวณค่าแสงที่คนรุ่นฟิล์มรู้จักกันดีเพราะจะมีระบุแนะนำไว้ด้านในกล้องฟิล์มทุกม้วน นั่นคือ “ Sunny 16 Rule ” สมัยที่ใครใช้กล้อง GR ตั้งแต่สมัยแรกๆที่ใช้ฟิล์มคงเคยรู้จักกฏนี้มาบ้าง…

SUNNY 16 RULE คืออะไร :

ต้องอธิบายก่อนว่า Sunny 16 ไม่ใช่วิธีการวัดแสงแต่เป็นข้อแนะนำในการตั้งค่าควบคุมปริมาณแสงของกล้องแบบสูตรสำเร็จง่ายๆ ไม่แม่นยำ แต่ใกล้เคียงสุดๆ ในสภาพท้องฟ้าใส แดดเปรี้ยง อาศัยความยืดหยุ่นของเนื้อฟิล์มช่วยเล็กน้อย แต่ทุกวันนี้สามารถตั้งค่าโหมด M ไปพร้อมมองเห็นการเปลี่ยนแปลงไปตามที่ปรับตั้งทันที(Real Time) ดังนั้นการเก็งข้อสอบล่วงหน้าด้วยตำรา Sunny 16 จะช่วยให้นักถ่ายภาพไม่เสียเวลาในการเลื่อนค่าต่างๆขณะที่วัตถุกำลังเข้าตำแหน่งที่เหมาะสมรอให้คุณกดชัตเตอร์

มีวิธีการใช้งานอย่างไร :

หลักในการใช้นั้นง่ายมาก…

– ตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ เท่ากับ ค่าความไวแสงฟิล์มโดยเปิดค่ารูรับแสงที่ F/16 (ในสภาพแสงแดดจ้าฟ้าใส) เช่น F/16, 1/100sec, ISO 100

– ถ้าสภาพแสงอ่อนลง ก็ปฏิบัติตามคำแนะนำเลย เช่นสภาพแสงมีเมฆ(Cloudy) ให้ลดค่ารูรับแสงเป็น F/8หรือถ้าอยู่ในร่มสภาพกลางแจ้ง(Shade) ก็ให้เปิดรูรับแสงที่ F/5.6

ถ้าสภาพแดดจ้า…แต่อยากเปิดรูรับแสงให้กว้างขึ้นจะทำอย่างไร?

วิธีง่ายมากๆ แค่ชดเชยปรับตั้งค่าจากเดิมตามหลักพื้นฐานการควบคุมค่าปริมาณแสงจาก 3 สิ่ง ต่อไปนี้คือ รูรับแสง(Aperture), ความเร็วชัตเตอร์ (Shutter Speed) และความไวแสง (ISO) เช่น เดิมเปิดรูรับแสงที่ F/16 อยากเปิดกว้างขึ้นเป็น F/5.6 เราก็ต้องนับว่ามีค่าความสว่างห่างกันอยู่กี่สตอป ในกรณีนี้แตกต่างกัน 3 สตอป ก็ต้องไปชดเชยด้วยการเพิ่มความเร็วชัตเตอร์ในการปิดรับแสง 3 สตอป ดังนั้นถ้าเดิมตั้งความเร็วชัตเตอร์ไว้ที่ 1/125 วินาที ก็จะต้องปรับตั้งค่าให้เร็วขึ้นเป็น 1/1000 วินาที จึงจะได้ปริมาณแสงผ่านเข้าสู่เซ็นเซอร์เท่าเดิม แต่ภาพที่ได้ไม่เหมือนกันนะเพราะรูรับแสงกว้างขึ้นจะส่งผลให้เกิดช่วงระยะชัดน้อยลง ส่วนความเร็วชัตเตอร์สูงขึ้นก็จะหยุดความเคลื่อนไหวของวัตถุได้นิ่งกว่าค่าเดิมที่ตั้งไว้

ความแม่นยำจะเกิดขึ้นจากประสบการณ์ ยิ่งฝึกฝนจดจำมากเท่าไรโอกาสจะผิดพลาดก็น้อยลงเท่านั้นการนำคำแนะนำมาทดลองร่วมสนุกในกลุ่มก็เป็นเรื่องท้าทาย และเพลิดเพลินดี อยากให้แฟนๆ GR ได้ช่วยกันเผยแพร่ต่อไปให้กับเพื่อนๆที่เพิ่งเริ่มต้นสนใจการถ่ายภาพด้วยนะครับ

%d bloggers like this: