Back to Basic : Knowledge of Flash…เล่าเรื่องแฟลช #2
ครั้งก่อนทราบกันไปแล้วว่าแฟลชทำอะไรได้บ้าง มาคราวนี้เราจะแนะนำว่าแฟลช มีระบบการทำงานอย่างไร ควรควบคุมอย่างไรจึงจะเหมาะสมกับงาน และมีความยุ่งยากในการใช้งานมากน้อยแค่ไหน…GRist แวะเข้ามาร่วมแบ่งปันความรู้กันครับ
Flash…มีแบบไหนบ้าง :
นอกจากแฟลชในตัวแล้ว ยังมีแฟลชแยก(Electronic Flash)ที่เราเห็นนำมาเสียบประกอบเข้ากับฮอตชู(Hotshoe) บนหัวกล้องเพื่อเพิ่มความสว่างให้กับวัตถุ
– ในรุ่นทั่วไปจะกระตุ้นให้ทำงานสัมพันธ์กับกล้องได้ต่อเมื่อสวมบนฮอตชูเท่านั้น
– แต่ถ้าเป็นรุ่นพิเศษจะมีฟังก์ชั่นการทำงานแบบไร้สาย(Wireless) เพื่อควบคุมให้แฟลชหนึ่งตัวไปสั่งการให้แฟลชอีกตั ทำงานพร้อมกัน มีทั้งแบบInfraed และ Radio Slave Flash Trigger
– สำหรับแฟลชรุ่นใหม่จะมีฟังก์ชั่นการสั่งการแบบไร้สายด้วยสัญญานคลื่นวิทยุ คือ มีตัวส่งสัญญาน(Transmitter) และตัวรับสัญญาน(Receiver) แยกกันออกจากกันได้ เช่น FlashQ รุ่น, FlashQ X20
ประโยชน์ของการแยกแฟลช :
หลายครั้งที่ได้ยินคำว่า แสงแบนขาดมิติ จากการใช้แฟลชติดหัวกล้องแล้วยิงตรงเข้าหาตัวแบบ หัวแฟลชจึงพัฒนาให้มีปรับก้ม-เงย และเอียงซ้าย-ขวาได้เพื่อให้มีการสะท้อนแสงออกมาจากผนัง หรือกำแพงให้แสงกระจายกว้างกว่าเดิมและเกิดความนุ่มนวลขึ้น แต่ในหลายๆโอกาสก็พบปัญหาเมื่ออยู่ในที่โล่งแจ้ง การนำแผ่นสะท้อนแสงมาช่วยก็อาจไม่เพียงพอ ดังนั้นการนำแฟลชไปวางในตำแหน่งที่ต้องการได้ เป็นการสร้างสรรค์ภาพให้มีความน่าสนใจโดดเด่นขึ้นไม่ว่าจะยิงเข้าหาตัวแบบ หรือยิงส่องฉากหลัง
ควบคุมแฟลชอย่างไร :
แฟลชแต่ละรุ่นจะมีโหมดการทำงานพื้นฐานไม่แตกต่างกันอาทิ โหมดแมนนวล(Manual), โหมดอัตโนมัติ(Automatic), โหมดTTL ซึ่งแต่ละโหมดจะทำงานสัมพันธ์กับกล้องผ่านขั้วสัญญานบริเวณฐานเสียบแฟลช ในแต่ละแบรนด์ก็จะมีรายละเอียดแตกต่างกัน จุดที่เหมือนกันก็จะเป็นขั้วสัมผัสตรงกลางที่ทำงานในระบบแมนนวลสามารถนำไปใช้งานข้ามแบรนด์ได้โดยการแยกแฟลชออกจากตัวกล้องส่วนมากจะเลือกใช้ระบบการทำงานแบบแมนนวล เพื่อควบคุมกำลังไฟแต่ละดวงให้สว่างในปริมาณที่ตั้งใจไว้ล่วงหน้า ไม่นิยมใช้ระบบอื่นเนื่องจากมีความละเอียดอ่อนในเรื่องระยะห่าง อุปกรณ์เสริมบังหน้าไฟ และค่ารูรับแสง มาเป็นปัจจัยแปรผันต่อการคำนวณกำลังไฟ
สัปดาห์หน้ามาเรียนรู้ว่าระบบการทำงานแฟลชแต่ละแบบเป็นอย่างไร แต่ละแบบควรเลือกใช้งานตอนไหน อย่าพลาด!ติดตามอ่านต่อเนื่องกันนะครับ…GRist