Back to Basic : Knowledge of Flash…เล่าเรื่องแฟลช#1

กล้องถ่ายภาพมักจะมีแฟลชในตัวกล้องมาให้ ยกเว้นกล้องรุ่นโปรที่จะมีฐานเสียบแฟลช(Hotshoe) สำหรับนำแฟลชมาเป็นอุปกรณ์เสริมเพิ่มแสงสว่าง หรือสร้างเทคนิคพิเศษให้เกิดขึ้นในภาพ เพราะแฟลชในตัวกล้องจะให้แสงแข็งกว่า และสร้างสรรค์ผลงานได้ไม่หลากหลายเท่าแฟลชแยก ซึ่งในกล้อง GRIII ก็สามารถใช้งานร่วมกับแฟลชได้ทั้งแฟลชของแบรนด์เอง หรือแฟลชอิสระที่ออกแบบมาให้ใช้งานร่วมกันได้ โดยมีฟังก์ชั่นการทำงานให้เลือกปรับได้หลากหลาย อาทิ Slow Sync Flash, Second Shutter Curtain Sync, Flash Exposure Compensation

 

Flash…ใช้ตอนไหน :

มีคำพูดว่า “ถ้าอยากเพิ่มความน่าสนใจให้ภาพ การเลือกใช้แฟลชก็เป็นทางเลือกเลือกหนึ่งที่ให้ผลดี” ไม่ใช่เฉพาะเวลาที่แสงน้อย หรือมืดจึงจะหยิบขึ้นมาใช้งานเท่านั้น ในหลากสถานการณ์ที่คุณอาจลืมคิดไปว่าแฟลชคือ คำตอบที่ใช่

– เมื่อถ่ายภาพย้อนแสง จะเป็นการสร้างความโดดเด่นทั้งใช้กับแสงธรรมชาติ หรือแสงไฟประดิษฐ์ ด้วยการกดแสงอื่นให้อันเดอร์ลงแล้วใช้แสงจากแฟลชเป็นแสงหลัก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าใช้แฟลชกี่ดวง กำลังไฟแรงแค่ไหน

– เมื่อต้องการหยุดความเคลื่อนไหว(Freeze Action) หน้าที่ของแฟลชในการหยุดการเคลื่อนไหวของวัตถุอาศัยความสามารถพิเศษ จากคุณสมบัติของ Duration Time ซึ่งนักถ่ายภาพส่วนใหญ่จะคิดถึงแต่การใช้ความเร็วชัตเตอร์สูง แต่หากมีแฟลชคุณก็ไม่จำเป็นต้องใช้การปรับตั้งค่าเช่นนั้นเสมอไป เพราะช่วงระยะเวลาการฉายแสงยิ่งสั้น ก็ยิ่งไปจับการเคลื่อนไหวของวัตถุได้ดีส่งผลให้ภาพมีความคมชัดสูงตามไปด้วย

กำลังไฟ…ต้องเท่าไร :

ค่ากำลังความสว่างของแฟลช มีหน่วยเป็นไกด์นัมเบอร์(Guide Number) ในคู่มือแฟลชแต่ละตัวจะมีระบุไว้ อย่างแฟลชตัวเล็กๆจะมีค่า GN. ประมาณ20 ใช้แบตเตอรี่ขนาด AA จำนวน 2 ถึง 4 ก้อน สามารถปรับก้ม-เงย ในรุ่นที่มีกำลังไฟสูงขึ้นก็จะมีขนาด และน้ำหนักมากขึ้น ทุกวันนี้การใช้แฟลชมีความสะดวกสบายไม่ยุ่งยากในการต้องคำนวณจากสูตร เพื่อหาค่ารูรับแสงที่เหมาะสม เพราะกล้องดิจิทัลกดชัตเตอร์ก็เห็นผลลัพธ์ทันที เมื่อใช้บ่อยๆก็เกิดความชำนาญคำนวณได้อย่างแม่นยำส่วนจะใช้กำลังไฟเท่าไรไม่มีสูตรตายตัว เพียงแต่ต้องเข้าใจว่า กำลังไฟเท่านี้ทำอะไรได้บ้างเพื่อให้ครอบคลุมกับลักษณะภาพที่ต้องการ

ยังมีเรื่องราวของแฟลชให้ติดตามตลอดทั้งเดือนกันยายน อย่าพลาด! ติดตามอ่านกันนะครับ

%d bloggers like this: