GR พาเที่ยว…  GR…กับการเติมแสงแฟลชให้ภาพ by Mapang Olan

แสงธรรมชาติกับการถ่ายภาพเป็นเรื่องที่เราคุ้นเคยกันดี แต่เมื่อต้องการเพิ่มความสว่าง หรือเปิดรายละเอียดในส่วนมืด กลับเป็นเรื่องที่เราไม่ค่อยคุ้นชินเท่าไร วันนี้เรามีช่างภาพสายสตรีท (Street Photographer) ที่มีผลงานโดดเด่นจากการใช้กล้อง RICOH GR ร่วมกับแฟลช มาแนะนำแนวทาง และวิธีคิดในการเติมแสงแฟลชเข้าไปในภาพอย่างไรให้น่าสนใจ…                                                                        

 

นิตชัย โอฬารัตนพันธ์ หรือ Mapang Olan หนึ่งในแอดมินเพจน้องใหม่ที่กำลังมาแรงหัด Street ” เลือกใช้กล้อง Ricoh GR ร่วมกับFlash Q รุ่น Q20 II เพราะแฟลชแบรนด์นี้มีความกะทัดรัดเหมาะมากกับกล้องตัวเล็ก และมีความโดดเด่นที่ดีงามในเรื่องของการควบคุมแฟลชแยกออกจากบอดี้ ด้วยตัวส่งสัญญานคลื่นวิทยุ (Radio Slave Flash Trigger) ซึ่งปกติเวลาซื้อมาใช้ตัวส่งสัญญาน(Transmitter) กับตัวรับสัญญาน(Receiver) จะถูกจูนให้รู้จักกันอยู่แล้ว แต่ถ้าเอาให้ชัวร์ก็จูนให้มันรู้จักกันก่อนอีกครั้งก็ได้ และอย่าลืมชาร์จพลังงานให้เต็มด้วยสาย USB2.0 ที่มีมาให้ในกล่อง.. เมื่อพร้อมแล้วก็ตามไปดูสถานการณ์ต่างๆว่าทำไมถึงเลือกที่จะหยิบแฟลชออกมาใช้งาน 

(1) ภาพแรกเป็นงานกลางแจ้ง เลือกที่จะเปิดกำลังไฟแฟลชให้แรงประมาณ ½ เพื่อขับให้สีสัน และการแต่งตัวของตัวแบบนั้นดูโดดเด่นกว่าการอาศัยเพียงแสงธรรมชาติ

(2) สำหรับงานกลางคืนเราจะลดกำลังไฟแฟลชลงมาให้เหลือ ⅛ (แล้วแต่สถานการณ์) หากสังเกตที่ฉากหลังจะมีความเบลออยู่ เนื่องจากผมตั้งใจจะใช้เทคนิค Slow Sync Flash ให้เกิดความสั่นไหวอยู่ในภาพ โดยที่ผู้หญิงที่เป็นแบบในภาพยังคงชัดอยู่ สีผิวของแบบจะไม่โดนแสงแฟลชแย่งซีนไป เพราะยังมีแสงambient ผสมในภาพด้วยนั่นเอง

(3) ภาพนี้เป็นงานกลางแจ้งที่ผมเลือกเปิดกำลังไฟแฟลชเต็มที่ (1/1) เพราะอยู่ห่างจากตัวแบบพอประมาณ จึงช่วยให้สามารถควบคุมรายละเอียดความสว่างในส่วนของท้องฟ้าด้านหลังเอาไว้ได้สมบูรณ์

(4) นวราตรีเป็นงานที่จัดตั้งแต่หัวค่ำ เพราะฉะนั้นมันต้องมืดแน่นอน ภาพนี้ผมยกแฟลชสูงเหนือหัว แล้วตั้งใจให้แสงส่องเฉียงสาดทะลุไปถึงด้านหลัง โดยให้ความสำคัญกับการปรับตั้งค่าในกล้องด้วย ถ้าเราตั้งอันเดอร์(Under)ไป แม้กำลังไฟเยอะกล้องก็อาจเก็บแสงแค่ที่หญิงชุดแดงกลางภาพ และถ้าตั้งค่าให้โอเวอร์(Over)ไปก็จะทำให้ความโดดเด่นของสีสันหายไปทันที

(5) เป็นอีกตัวอย่างในการใช้แฟลชในเวลากลางวันเพื่อสู้กับแสงธรรมชาติ แต่อย่าลืมเรื่องเก็บสีสันในภาพ

(6) การใช้แฟลชร่วมในเวลากลางคืนหากใช้เทคนิค Slow Sync Flash เข้าไปก็จะทำเพิ่มความน่าสนใจให้กับภาพ

(7) ประสบการณ์จากการใช้แฟลช กับการควบคุมการตั้งค่ากล้องที่ดี จะทำให้เราไม่เสียสิ่งที่ต้องการจะนำเสนอ เช่นมิติของควันในภาพนี้

 (8) มาถึงภาพสุดท้ายเป็นการเข้าไปถ่ายภาพในรยะประชิดแบบโคลสอัพ (เข้าใกล้) แล้วใช้แฟลชช่วย21ให้ตัวแบบของภาพนี้ดูโดดเด่นขึ้นมาจากฉากหลังที่เป็นท้องฟ้า

 

แฟลช…เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์เสริมที่สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างสรรค์ภาพให้มีความน่าสนใจ และสร้างความแตกต่างให้กับชิ้นงานของเราได้ ใครที่สนใจแต่ยังใช้ไม่คล่องก็ลองหมั่นซ้อมมือจากสิ่งที่อยู่รอบๆตัว เพื่อเตรียมความพร้อมในการออกไปลุยเก็บประสบการณ์ในสถานการณืจริง เราเป็นกำลังใจให้นะครับ…

 

%d bloggers like this: