GR EXPERIENCE :  RICOH GR IIIx …เก็บแสง สี ประเพณีเมืองปากน้ำโพ by Eakarin Ekartchariyawong

Ricoh GR IIIx เก็บแสง สี ประเพณีเมืองปากน้ำโพ

 

นครสวรรค์ หรือเมืองปากน้ำโพ มีชื่อเสียงในเรื่องของประเพณีแห่เจ้าพ่อ เจ้าแม่ปากน้ำโพ ในเทศกาลตรุษจีนของทุกปี ที่สืบสานประเพณีกันมายาวนานกว่าร้อยปี โดยในปี พ.ศ. 2561 ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญทางวัฒนธรรมของชาติ ในปีนี้ก็ยังมีจัดงาน แต่กิจกรรมลดลงเนื่องจากต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19เพื่อความปลอดภัยของประชาชน ซึ่งคุณเอกรินทร์ เอกอัจฉริยะวงศ์ ได้นำกล้อง Ricoh GR IIIx ไปบันทึกภาพเหตุการณ์มาเล่าสู่กันฟังแบบน่าตื่นตาตื่นใจ

 

มีหลายท่านไม่นิยมนำกล้องออกไปใช้งานตอนกลางคืน แต่ขอบอกว่าไม่ใช่เค้าคนนี้ เพราะเราจะเห็นภาพแสงสีจากคุณเอกรินทร์อยู่บ่อยครั้งทั้งจากกล้อง Ricoh GRIII และน้องใหม่ Ricoh GR IIIx ด้วยมุมมองที่เสมือนเข้าใกล้ได้มากขึ้น จากเดิมทางยาวโฟกัส 28mm เพิ่มเป็นทางยาวโฟกัส 40mm ภาพจึงมีความกระชับขึ้น ตัวแบบมีขนาดใหญ่ขึ้นด้วย แต่ได้พิกเซลสูงเท่าเดิม(24MP) 

 

การถ่ายภาพกลางคืน อาจคิดถึงการใช้ขาตั้งกล้อง แต่กิจกรรมลักษณะนี้ไม่สะดวกต่อการใช้งานเป็นอย่างยิ่ง ทางเลือกจึงเหลือไม่มาก หนึ่งในวิธีที่คุณเอกรินทร์เลือก คือ กันดันค่าความไวแสง(ISO) ให้สูงขึ้น เพื่อให้ความเร็วชัตเตอร์ไม่ต่ำเกินไปจะหยุดความเคลื่อนไหวของวัตถุไว้ได้ ในบางครั้งก็มีเลือกใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำบ้างเพื่อให้เกิด Movement ชวนให้มีอารมณ์คล้อยตามจินตนาการที่ถ่ายทอดลงในภาพ เช่น ภาพหัวมังกรหมุน เลือกใช้หน้ากล้อง F/10, ความเร็วชัตเตอร์ 1/13 วินาที และความไวแสง ISO 2000 แตกต่างจากภาพก่อนหน้าที่เน้นเทคนิค Stop Action จึงเลือกใช้หน้ากล้อง F/5.6, ความเร็วชัตเตอร์ 1/60 วินาที และความไวแสง ISO 1250 

 

ด้วยความที่ GR IIIx เป็นกล้องเล็กการเข้าถึงตัวแบบจึงเป็นเรื่องเนียนตา อย่างภาพเอ็งกอ-พะบู๊ ที่มีแสงไฟประดับใช้ ISO 5000 ก็ให้สีสันสวยงามไม่แพ้เวลากลางวัน แม้ใช้ความเร็วชัตเตอร์เพียง 1/80 วินาที ก็ยังให้ความคมชัดสูง ทั้งนี้เนื่องจากตามกฏ 1/ทางยาวโฟกัส บวกกับระบบป้องกันความสั่นไหวจึงไม่ต้องกังวลในเรื่องนี้นั่นเอง 

 

สำหรับภาพเจ้าพ่อมีแสงสว่างมากกว่าภาพอื่นๆจึงตั้งค่าความไวแสงเพียง ISO 250 ไม่ต้องดันขึ้นไปสูงเหมือนภาพอื่นๆ ที่เหลือก็เดินหาจังหวะบันทึกภาพตามสะดวก อีกเรื่องคือ ต้องรู้กำหนดการของงานจะได้มุ่งไปในแต่ละจุด รวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้น ลองศึกษาจากภาพแล้วนำไปทดลองใช้งานก่อนจะนำไปลงสนามจริง หากมีข้อสงสัยก็สามารถสอบถามเข้ามาได้…