TAMRON…PLANNER

STUDIO PHOTOGRAPHY การถ่ายภาพในสตูดิโอ

หลายคนอาจมองว่าการถ่ายภาพในสตูดิโอเป็นเรื่องไกลตัว แต่ก็เชื่อว่าครั้งหนึ่งในชีวิตจะมีโอกาสได้สัมผัสกับแสง และบรรยากาศที่มีมนต์ขลังไม่น้อย ซึ่งหากได้ลองอาจจะติดใจก็ได้เพราะมีศาสตร์ในเรื่องของการจัดแสงเข้ามาทำให้สนุกไม่น้อย วันนี้มาลองตามไปทำความรู้จักเพื่อเตรียมพร้อมกันสักหน่อย…

 

สตูดิโอ หมายถึงอะไร :

เป็นสถานที่ที่จัดเตรียมไว้สำหรับบันทึกภาพโดยเฉพาะ อาจใช้แสงธรรมชาติ หรือแสงไฟประดิษฐ์เข้ามาเป็นแหล่งกำเนิดแสงก็ได้ ซึ่งหลานท่านอาจจะคุ้นเคยเวลาไปถ่ายภาพพรีเวดดิ้ง หรือไปเวิร์คชอปกิจกรรมถ่ายภาพ ซึ่งแต่ละสถานที่ก็จะมีธีมที่แตกต่างกันไป 

 

แหล่งกำเนิดแสงที่ควรรู้ :

– แสงธรรมชาติเรารู้จักแน่นอน แต่รู้จักกันดีหรือเปล่า ..ช่วงเวลาไหนให้แสงนุ่มนวล และช่วงเวลาใดให้แสงแข็ง เรื่องนี้จะส่งผลต่ออารมณ์ภาพ ที่จะสื่อสารผ่านตัวแบบ

– แสงโคมไฟ อันนี้จะรวมทั้งไฟที่ประดับสถานที่ และไฟที่นำมาเสริม สำหรับส่องไปยังตำแหน่งที่ต้องการ ซึ่งมีหลายหลายกำลังไฟในการให้ความสว่าง และยังสามารถปรับเปลี่ยนรูปทรงไปตามอุปกรณืเสริมที่นำมาดัดแปลงสวมด้านหน้าด้วย โดยแสงแบบนี้ง่ายต่อการบันทุกภาพ เนื่องจากสายตาเห็นอย่างไร กล้องก็สามารถบันทึกได้ตามที่เห็นนั้นเลย

– แสงไฟแฟลช มีความเฉพาะทางสำหรับช่างภาพที่ต้องการแสงที่จำลองสถานการณ์ หรือเหตุกาณ์มาไว้ภายในที่เดียว อาจต้องอาศัยทักษะความเข้าใจเรื่องทิศทางแสง และการควบคุมอุปกรณ์ไฟมาเกี่ยวข้องบ้าง แต่ก็ไท่ได้ยากจนเกินจะเรียนรู้ได้

 

อุปกรณ์ถ่ายภาพ :

คงขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์การถ่ายภาพเป็นหลัก ไม่จำกัดว่าต้องเป็นกล้องประเภทใด หรือจะเป็นเลนส์ฟิกซ์ เลนส์ซูม เราสามารถนำมาใช้งานได้ทั้งสิ้น ถ้าสถานที่นั้นแสงน้อย จำเป็นต้องใช้ขาตั้ง ก็ควรรีบจัดหาให้เหมาะสมกับงาน

 

ทริคในการเสริมอารมณ์ภาพ :

– ยิ่งเปิดความเร็วชัตเอร์นาน ก็ยิ่งเก็บเส้นแสงได้มาก แต่ก็ต้องระวังบางจุดจะสว่างเกินไป

– หากใช้เลนส์ซูม ก็สามารถใช้เทคนิคระเบิดซูม จากการเปิดชัตเตอร์นาน แล้วค่อยๆเปลี่ยนทางงยาวโฟกัสจากใกล้ไปไกล หรือไกลไปใกล้

– บางท่านเปิดชัตเตอร์นานมากเพื่อรอปรากฎการณ์บางอย่าง เช่น ฟ้าแล่บ ก็ควรหาผ้าดำมาคลุมหน้าเลนส์ในช่วงที่เหตุการณ์นั้นยังไม่เกิดขึ้น เพื่อไม่ให้แสงที่ไม่ต้องการลอดเข้าไป

 

ขณะบันทึกภาพนักถ่ายภาพควรคำนึงถึงเรื่องความปลอดภัยในด้านต่างๆเป็นสำคัญด้วย เช่น ห้ามนำอุปกรณ์ยื่นออกจากตัวอาคาร หรือฝนฟ้าคะนองก็ไม่ควร

%d bloggers like this: