ช่วงหน้าหนาวการถ่ายภาพทิวทัศน์น่าจะเป็นช่วงเวลาที่นักถ่ายภาพสายLandscapeมีความชื่นชอบกันไม่น้อย เพราะท้องฟ้ามีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงเวลางดงามตลอดวัน ตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นจนกระทั่งพลบค่ำ

คุณเอกรินทร์ เอกอัจฉริยะวงศ์ ได้เก็บภาพทัศนียภาพของกรุงเทพฯ มาฝากเพื่อนๆ พอได้ออกไปถ่ายภาพแก้เหงาได้บ้างด้วยเลนส์เทเลโฟโต้…ฟังไม่ผิดครับ เลนส์Tamron SP 150-600mm F/5-6.3 Di VC USD G2 (Model A022) คืออาวุธคู่กายที่ใช้ถ่ายทอดความงดงามของเมืองฟ้าอมรครั้งนี้

 

 

ปกติการถ่ายภาพ Landscape เรามักนึกถึงเลนส์ไวด์เป็นลำดับแรกๆ เหตุเพราะคิดถึงมุมมองกว้างๆเป็นหลัก แต่ในความเป็นจริงทัศนียภาพที่กว้างใหญ่นั้น ถ้าใช้เลนส์มุมกว้างทุกอย่างก็จะมีขนาดสัดส่วนที่เล็ก ดูไกลๆการที่จะให้เห็นเต็มตา ควรเลือกเจาะมุมเป็นบริเวณๆไปดังนั้น เลนส์เทเลโฟโต้จึงมีความได้เปรียบ

 

 

ลองดูภาพดวงอาทิตย์ที่ระยะซูมต้นๆของเลนส์ กับที่ระยะสุดกระบอกสิ่งที่คุณจะเห็นได้ชัดเจน คือ ขนาดของดวงอาทิตย์และมิติ ความใกล้-ไกลของตึกแต่ละหลังที่แลดูเหมือนอยู่ติดกันทั้งที่ความเป็นจริงอยู่ไกลกันเป็นกิโลๆ ความน่าสนใจ ความน่าตื่นตาตื่นใจ จากการดึงคุณสมบัติของเลนส์ขึ้นมาถ่ายทอดอารมณ์ภาพเป็นสิ่งที่ควรทำความเข้าใจและทดลองใช้เพื่อให้เกิดประสบการณ์ตรงจนจดจำได้แม้ไม่ต้องยกกล้องเล็ง

 

 

จากมุมเดียวกันแถวละแวกสะพานพุทธ เมื่อมองอีกฟากของสะพานจะพบกับเจดีย์ของวัดประยุรวงศาวาศวรวิหารสีขาวเด่น ถัดไปใกล้ๆกันเป็นโบสถ์ซางตาครู้สที่อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาและเห็นไกลออกไปหน่อยก็จะเป็นวัดอรุณราชวรารามสัญลักษณ์สำคัญของเมืองไทยที่นักท่องเที่ยวทั่วโลกรู้จักดีเวลาบันทึกภาพแนว Nightscape ก็มีความงดงามไปอีกแบบซึ่งการถ่ายภาพในยามค่ำคืนแบบนี้ขาตั้งกล้อง สายลั่นชัตเตอร์ นั้นเป็นอุปกรณ์สำคัญที่ต้องมี

คำถาม – ที่มักสงสัยกันในเรื่องระบบกันสั่น หรือ VC จำเป็นต้องปิดไหม หรือจะเปิดเอาไว้อย่างนั้นดี อธิบายง่ายๆได้อย่างนี้…กรณีพื้น หรือบริเวณที่กางขาตั้งไม่มีการขยับหรือเคลื่อนที่ คุณควรจะปิดระบบ VC ไม่ให้ทำงานและหากตั้งอยู่ในบริเวณที่มีพื้นมีการสั่นไหวแบบรู้สึกได้ หรือจุดที่กางขามีการเคลื่อนไหว คุณควรจะเปิดระบบ VC เอาไว้

ดังนั้น การกางขาตั้งบนสะพานจึงมีความเสี่ยงสูงต่อแรงสั่นสะเทือน อันเนื่องมาจากการสัญจรของรถแม้จะตั้งบนขาตั้งกล้องที่มีขนาดใหญ่แค่ไหน คุณก็ควร…เปิดระบบป้องกันความสั่นไหว(VC)คอยช่วยชดเชยแรงสั่น เพื่อทำให้ภาพเกิดความคมชัดสูงสุดเท่าที่จะทำได้ส่วนการปรับแนวตั้ง แนวนอน เลนส์ A022 มีคอลล่าร์(Collar) นอกจากจะใช้รับน้ำหนักเลนส์แล้วยังคลายล็อกเพื่อหมุนให้บอดี้ปรับองศาการถ่ายภาพได้โดยที่ไม่ต้องปลดล็อกเพลทหัวขาตั้งเพื่อใส่ใหม่

 

 

จากนั้นขยับทำเลไปแถวสีลมขึ้นไปชั้นบนของโรงแรมเลอบัว แอท สเตท ทาวเวอร์ ที่ถือเป็นตึกสูงอันดับต้นๆของกรุงเทพโดมสีทองชั้นที่67 กับมุมมอง 360 องศา ทำให้เลนส์Tamron SP 150-600mm F/5-6.3 Di VC USD G2 (Model A022) สามารถเก็บภาพเส้นแสงไฟของรถบนทางด่วนยกระดับยาวสุดลูกหูลูกตา ทั้งเส้นแสงสีแดง และแสงสีเหลืองการจะเก็บเส้นแสงนี้มักใช้หน้ากล้องประมาณ F/8 – F/11 เพื่อไม่ให้เส้นแสงฟุ้งไป หรือเล็กเกินไปนั่นเอง

 

 

และถ้าหันไปอีกทางจะเป็นสะพานภูมิพลที่เห็นโค้งแม่น้ำ และแสงไฟสะท้อนระยิบระยับสวยงามยิ่งนัก ไฟต่างๆตามเสาก็จะเป็นประกายแฉกทริคของการถ่ายภาพอาคารยามค่ำคืนเช่นนี้ ก็ไม่ยาก คือ ควรไปถ่ายภาพในวันธรรมดา หลีกเลี่ยงการไปถ่ายภาพในวันหยุดเพราะออฟฟิคจะหยุด ไฟตามตึกก็จะไม่ถูกเปิดใช้งาน เราก็จะไม่ได้ไฟตามช่องกระจกของตึกไง…

เห็นไหมว่า…เพียงช่วงเวลาไม่นาน จากแสงแดดเปลี่ยนเป็นแสงจันทร์(Day to Night) เราสามารถเนรมิตความสวยงามจากดวงตาผ่านเลนส์เข้าไปเก็บไว้ในเมมมโมรี่การ์ดเตือนความทรงจำได้ตลอดไปต้องขอขอบคุณ คุณเอกรินทร์ เอกอัจฉริยะวงศ์ที่พาเราไปค้นหาความงามผ่านคมเลนส์ของ Tamron SP 150-600mm F/5-6.3 Di VC USD G2 (Model A022)

%d bloggers like this: