TAMRON…ON TOUR

BIRD…BIRD by ปิยะฉัตร แกหลง

ความหลงใหลในธรรมชาติของนักถ่ายภาพอาจถือเป็นเรื่องธรรมดา แต่การจะถ่ายภาพให้ได้เป็นธรรมชาติอย่างที่ตาเห็น หูได้ยินนั้นเป็นเรื่องไม่ง่ายเลย

ครั้งนี้เรานำภาพของคุณปิยะฉัตร แกหลง ที่เป็นแนวWildlife ใช้เลนส์ Tamron SP 150-600 mm F5-6.3 Di VC G2 (Model A022) ถ่ายภาพนกในธรรมชาติมาให้ได้ชมแนวทางกันสำหรับออกไปใช้ชีวิตกลางแจ้งได้อย่างมีสีสัน ไม่ย่อท้อ

แรกๆคุณมักจะได้ยินแต่เสียง…หาเค้าไม่เจอ จงเชื่อเถิดว่าไม่ใช่แค่คุณ เพราะทุกคนล้วนเดินผ่านจุดนี้มาหมดแล้ว 555 จากเลนส์คิทค่อยๆพัฒนาเป็นเลนส์อเนกประสงค์ แล้วมาเป็นเลนส์เทเลโฟโต้แบบประหยัด จนไปสู่เลนส์กระบอกโตที่ไม่รู้แบกไปได้ไง นี่เป็นพัฒนาการของนักถ่ายภาพสายWildlife ทั้งหมดทั้งปวงเป็นเกิดมาจากใจรัก

 


ใช้เลนส์อะไรดี :
น่าจะเป็นคำถามต้นๆที่มักได้ยิน แต่คนตอบต้องใช้เวลาไตร่ตรองพอสมควรกับการจะสวนคำตอบออกไปให้ถูกใจ เพราะแรงบันดาลใจอาจหายไปหมดสิ้นก็เป็นได้ หากรู้ถึงวิธีการทำงาน หรือการได้ภาพมาสักใบนึง

 

 

โอ๊ย…ไม่ยากหรอก
เริ่มฝึกถ่ายภาพนกแถวๆบ้านก่อนก็ได้ เฮ้ย! นกกระจอกนี่มันไม่กระจอกเหมือนชื่อนี่หว่า พอไปลองแล้วก็จะรู้ว่า นกจะมีจังหวะการบิน จังหวะออกตัว จังหวะร่อนลง หรือจังหวะโฉบเหยื่อ ถ้าไปศึกษาตำราดูนกแต่ละชนิดเราจะรู้ว่าเค้าจะเกาะกิ่งไม้ระดับความสูงเท่าไร เจอได้แถบไหนที่เป็นถิ่นที่อยู่ปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็นเหตุเป็นผลต่อการเลือกใช้เลนส์หรือบางทีก็ขึ้นอยู่กับดวง เพราะอยู่ดีๆมันอาจจะบินมาเกาะตรงหน้าในขณะที่คุณติดเลนส์คิท…ก็เป็นได้

 

 

โฟกัสแบบไหนดี :
ช่วงแรกๆถ่ายติดก็ดีใจแล้ว ไม่ได้สนใจเรื่องความคมชัด หรือท่าทางเท่าไร แต่เมื่อเริ่มมีภาพในสต๊อกที่ต้องลบมากขึ้นเรื่อยๆ ก็มักเริ่มเปิดดูภาพคนอื่นว่าเค้าถ่ายได้แบบเราไหม หรือเค้าถ่ายได้สวยกว่าเราอย่างไร ระบบการโฟกัสก็เริ่มอยู่ในความสนใจมากขึ้น จากที่แค่พอรู้ สำหรับการถ่ายภาพนกเกาะกิ่งไม้ อยากได้ภาพนกกำลังบินโฉบบ้าง จึงต้องลงลึกว่าระบบโฟกัสต่อเนื่อง(AF-C) มีรายละเอียดอะไรปลีกย่อยลงไป

 

 

Tracking หรือระบบติดตามวัตถุ มีอยู่ในกล้องเกือบทุกรุ่น ยิ่งเป็นรุ่นใหญ่ ยิ่งมีความพิเศษเหนือกว่า(แต่ต้องใช้ให้เป็น) เมื่อกดล็อกเป้าหมายแล้วมันจะเกาะติดเป้าหมายเหมือนจรวดสังหาร เจอเป้าหมายอื่นมาหลอกล่อก็ไม่หลงกล จนกว่าเราจะสั่งยกเลิกเอง ตอนนี้มีระบบAnimal Eye AF เข้ามาช่วยในระบบAi ยิ่งช่วยให้เราสะดวกสบายขึ้น แต่ก็ยังต้องละเอียดไม่ใช้ส่ายกระบอกมั่วจนลืมหลักการจัดองค์ประกอบภาพ และภารกิจที่ต้องการจะบันทึกภาพ

 

 

ภาพแอ็คชั่นที่อยากมี :
ระดับความยากเพิ่มขึ้น หากต้องการได้ภาพตอนนกล่าเหยื่อ บางคนเริ่มฝึกจากการไปบ่อ เพราะโอกาสนกจะมากินเหยื่อล่อที่เค้าจัดเตรียมไว้ให้เป็นไปได้สูง เหมือนการเล่นกอล์ฟต้องไปฝึกสนามไดร์ฟก่อนเพื่อรู้ระยะ รู้น้ำหนักการตีของเราเมื่อหยิบหัวไม้ขนาดต่างๆมาหวดลูก เมื่อมีความแม่นยำ…ก็อยากหาอะไรที่ท้าทายกว่าตำราต่างๆจึงถูกค้นคว้าอย่างเอาจริงเอาจัง ได้ข่าวมีนกปรากฎตัวที่ไหนต้องมีเราที่นั้น…อาการแบบนี้จะเกิดขึ้นเรียกว่าเป็นเป้าหมายเอาไว้พุ่งชน การฝึกฝนจนถึงขั้นนี้ได้ แสดงว่ากล้อง เลนส์ สายตาของคุณรวมเป็นหนึ่งเดียวกันแล้ว พร้อมจะออกไปล่าภาพทั่วราชอาณาจักร 555

 

 

เครื่องไม้เครื่องมือใครว่าไม่สำคัญ หลายๆครั้งบรรดาโปรฯก็ได้แต่มอง เพราะมาตัวเปล่าไม่ได้พกอาวุธมาด้วย หลายท่านเวลาเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่ก็ต้องไปทดสอบทำความรู้จักกันก่อนจะนำไปออกทริปจริงให้คุ้นไม้คุ้นมือ เรื่องราวจากประสบการณ์จริงที่พรานล่า(ภาพ)นกได้กรุณาบอกเล่าต่อๆกันมาน่าจะช่วยทำให้สมาชิกใหม่ในเส้นทางนี้ ก้าวต่อไปได้เร็ว…บนพื้นฐานการถ่ายภาพที่แข็งแรง และไม่ทำให้ระบบนิเวศน์เสียหาย…เพียงเพราะอยากได้ภาพ จนลืมไปว่าเราต้องการถ่ายทอดธรรมชาติ เพราะอยากจะให้คนหันมาช่วยกันอนุรักษ์และเห็นถึงความสำคัญของธรรมชาติจากหลักฐานภาพถ่ายที่มีบันทึก

%d bloggers like this: