How to… MILKY WAY PHOTOGRAPHY by Vitoon Kamsong
HOW TO…Milky Way Photography
คุณโจ้ วิฑูรย์ คำสงค์ มีคำแนะนำการถ่ายภาพทางช้างเผือก และถ่ายภาพดวงดาวเพื่อให้เกิดความสนุกมากยิ่งขึ้น ยามลมเย็นๆมากระทบร่างกาย พร้อมการอดหลับอดนอนที่สุดคุ้มค่ามาฝากเพื่อนๆ…
Location & Planning :
การถ่ายภาพดาว อาจมีความยุ่งยากอนู่บ้างในเรื่องการหาโลเคชั่น เพราะจำเป็นต้องถ่ายภาพตอนกลางคืน และต้องมีแสงรบกวนน้อยทั้งแสงรบกวนจากชุมชนและเมืองใหญ่ ยิ่งแสงรบกวนน้อยเท่าไรก็ยิ่งดี เพราะจะทำให้เห็นดวงดาวได้ชัดเจน ต่อมาคือ การหาฉากหน้าเจ๋งๆมาจัดองค์ประกอบภาพ เช่น หินรูปทรงสวยๆ ต้นไม้ หรือแม้แต่สิ่งปลูกสร้างต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้ภาพถ่ายดูมีความสวยงามมากยิ่งขึ้น
การวางแผนก็สำคัญ ทั้งการตรวจสอบวันเวลาที่เหมาะสม และตำแหน่งดวงดาว ซึ่งคุณโจ้เลือกวางแผนด้วยแอพพลิเคชั่น ทั้ง Planets / Star Walk2 ที่ปล่อยให้โหลดฟรี และ Photo Pills ที่มีค่าใช้จ่ายสำหรับโหลดเก็บไว้ในสมาร์ทโฟน โดยปกติจะหลีกเลี่ยงคืนที่มีแสงรบกวนจากดวงจันทร์
Camera & Accessories : อุปกรณ์เบื้องต้นที่ควรมี
– ควรเลือกใช้กล้องที่สามารถถอดเปลี่ยนเลนส์ได้
– เลือกใช้เลนส์มุมกว้าง เพื่อเก็บบรรยากาศท้องฟ้า และฉากหน้าได้อย่างครอบคลุมยิ่งเลนส์มีค่ารูรับแสงกว้างก็จะช่วยตอบสนองการถ่ายภาพในสภาพแสงน้อยยามค่ำคืนได้เป็นอย่างดี เช่น เลนส์Tamron 17-28mm F/2.8 Di III RXD
– แบตเตอรรี่สำรอง หรือพาวเวอร์แบงค์
– ขาตั้งกล้อง (Tripod)
– สายลั่นชัเตอร์ (Shutter Release)
– ไฟฉาย (Flashlight)
Camera Setting : การตั้งค่ากล้องถ่ายภาพ
– ปรับตั้งรูรับแสงควรปรับให้กว้าง เพื่อส่งผลต่อความชัดเจนของดวงดาว
– ควรปรับความเร็วชัตเตอร์ให้เหมาะสมไม่ต่ำเกินไป จนทำให้ภาพดาวยืดออก ไม่เป็นจุดตามความจริง ซึ่งมีหลักในการคำนวณตามขนาดของเซ็นเซอร์รับภาพ ดังนี้
M4/3 : 300 หารด้วยทางยาวโฟกัสของเลนส์ = ระยะเวลาการถ่าย / ความเร็วชัตเตอร์
APS-C : 400 หารด้วยทางยาวโฟกัสของเลนส์ = ระยะเวลาการถ่าย / ความเร็วชัตเตอร์
Full Frame : 600 หารยทางยาวโฟกัสของเลนส์ = ระยะเวลาการถ่าย / ความเร็วชัตเตอร์
ยกตัวอย่าง หากใช้กล้องฟูลเฟรม ร่วมกับเลนส์ทางยาวโฟกัส 17mm ก็จะใส่สูตรคำนวณได้เป็น 600 / 17 = 35.3 เพราะฉะนั้นก็ควรใช้ชัตเตอร์สูงสุดไม่เกิน 35.3 วินาทีนั่นเอง !
แต่จากประสบการณ์แล้ว หากใช้กฎ 400/600 แล้วซูมภาพไปที่ 100% จะพบว่าดาวจะมีการเคลื่อนที่เล็กๆ ดังนั้นลองลดความเร็วชัตเตอร์ลงไปอีก
– ค่าความไวแสง หรือISO ควรปรับให้สูงเพื่อให้เห็นดาวชัดเจน แต่ก็เสี่ยงต่อการเกิดสัญญานรบกวนมากขึ้น ค่าที่มักปรับใช้จะอยู่ที่ประมาณ ISO1600 ถึง ISO4000
– ค่าอุณหภูมิสี หรือWhite Balance แนะนำเลือกใช้ที่ประมาณ 3500-4500 เคลวินทั้งนี้ขึ้นกับสภาพแสงแสงบนท้องฟ้าแต่ละวัน
Image Processing :
หลายครั้งภาพถ่ายถูกนำมาตกแต่งเพิ่มเติม ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่ที่ความพึงพอใจของแต่ละท่าน โดยส่วนตัวมักนำภาพตำแหน่งเดิมหลายๆใบด้วยการตั้งค่าเดียวกัน มาใช้เทคนิค Madian Stack ในPhotoshop ช่วยลดสัญญานรบกวน จากนั้นก็ตกแต่งไปตามจินตนาการ
การถ่ายภาพดาวไม่ยากเกินไปใช่ไหมทุกท่าน ก็ขอให้สนุกและมีความสุขกับการอดนอนแล้วได้ภาพดาวสวยๆกันนะครับ