TAMRON EXPERIENCE : ความอัศจรรย์ของความเร็วเหนือเสียง

ความเร็วของเสียงมีหน่วยเรียกว่า “มัค” (Mach) เท่ากับ 343 เมตรต่อวินาที (1,236 กิโลเมตรต่อชั่วโมง – 1 มัค) ถ้าเร็วกว่า 5 เท่าของเสียงก็จะเรียกว่า “ไฮเปอร์โซนิก”และถ้า “10 มัค” ก็เท่ากับประมาณ 12,360 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

 

จากเหนือสุดไปใต้สุด แม่สาย เชียงราย ไปถึงเบตง ยะลา ระยะทาง 1,640 ก.ม. ใช้เวลาไม่ถึงห้านาทีสำหรับ 10 มัค!

 

เมื่อเคลื่อนที่เร็วเหนือเสียง (ที่เรียกว่าทะลุกำแพงเสียง) และถ้าความชื้นในอากาศมีมากพอก็จะเกิดการควบแน่นเป็นละอองน้ำรูปกรวยขึ้นบานเป็นกระโปรง มักจะเรียกกันว่า “โซนิคบูม”

 

สำหรับในแง่ของการถ่ายภาพนั้นผมเคยมีประสบการณ์กับโซนิคบูมอยู่บ้าง เล่าให้ฟังว่ามันไม่ใช่เรื่องง่ายเลยครับ เพราะการปรากฏนี้จะมีแค่ชั่วเสี้ยววินาทีเท่านั้น ลำพังแค่กวาดหน้ากล้องให้ทันเครื่องบินที่เร็วระดับทะลุกำแพงเสียงก็ยากมากแล้ว แต่จังหวะที่ชัตเตอร์จะสับเปิดรับแสงในจังหวะที่เกิดกรวยอากาศนั้นก็ต้องถือว่าดวงมีส่วนอย่างมากเลยทีเดียว

 

อันนึงที่เล่าได้จากความทรงจำก็คือ สายตาคุณจะเห็นตัวเครื่องบินพุ่งปราดมาด้วยความรวดเร็วแต่ไม่ได้ยินเสียงครับ จนกระทั่งเครื่องผ่านไปแล้วนั่นแหละถึงจะมีเสียงระเบิดบึ้มม!! ตามหลังมา อันเป็นการทะลุกำแพงเสียงของเครื่องบิน

 

ตรงนี้แหละครับที่ว่าจะกวาดหน้ากล้องตามทันมั๊ย

 

ถ้าเป็นสถานการณ์สงครามจริงๆ ละก็มันจะน่าอกสั่นขวัญผวามากเพราะคุณจะเห็นเครื่องบินพุ่งเข้ามาอย่างประสงค์ร้ายด้วยความรวดเร็วสุดๆ แต่เงียบเสียงนั่นเอง

 

เป็นประสบการณ์ถ่ายภาพที่หาได้ค่อนข้างยากอยู่ครับเพราะเค้ามักจะไม่ทำกัน เนื่องจากการทะลุกำแพงเสียงแต่ละครั้งนั้นจะทำให้เกิดเสียงดังมาก ดังชนิดที่ว่ากระจกอาจจะแตก ปูนอาจจะร้าว ที่สำคัญคือแก้วหูอาจฉีกได้ครับ

 

– ปิยะฉัตร แกหลง –

 

ข้อมูลภาพ :

 

TAMRON SP150-600mm F/5-6.3 Di VC USD G2 • TAMRON TC-X14 • Canon EOS 5D mark IV • @840mm • F/9 • 1/2500 sec • ISO 320

 

%d bloggers like this: