VANGUARD มีการออกแบบวัสดุและประเภทของขาตั้งกล้องไว้อย่างเป็นระบบ ในขาตั้งรุ่นล่าสุด VEO3+ จะมีวิธีการถอดรหัสที่เข้าใจง่าย ช่วยให้การเลือกซื้อสะดวกรวดเร็ว แม้จะไม่ได้ไปตัดสินใจเองที่หน้าร้าน ลองไปอ่านรายละเอียดกันได้เลย…
VEO3+ รุ่น 263 AB / 263AB / 263CB :
– เลข 2 ตัวหน้า จะหมายถึง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของขาท่อนแรก เช่น 26 มม.
– เลขถัดไป หมายถึง จำนวนท่อนของขารุ่นนั้นๆ เช่น 3 ก็คือมี 3 ท่อน
– อักษรภาษาอังกฤษตัวแรก หมายถึง วัสดุที่ใช้ในการผลิตขาตั้ง เช่น A คือวัสดุAluminum Alloy และ C คือวัสดุ Carbon Fibre
– อักษรภาษาอังกฤษตัวท้าย หมายถึง ประเภทของหัว เช่น B หมายถึง Ball Head และ P หมายถึง Pan Head
Ball Head (BH-160) – เป็นหัวขาตั้งที่ได้รับความนิยมมาในระยะ10 กว่าปีมานี้เนื่องจากมีความกะทัดรัด สะดวก คล่องตัว มีจัดเป็นเซ็ทไว้ให้เลือกหลากหลายขนาด ที่บริเวณฐานจะมีก้านล็อก 2 อัน คือ ล็อกการแพน สำหรับหมุนรอบตัว 360 องศา จะมีจุดมาร์คให้สังเกตด้วย อีกอันจะคอยล็อกลูกบอล ที่มีแกนของฐานเพลทยึดกล้อง ตัวเพลท (QS-60 V2) จะมีขนาดเดียวกับมาตรฐานของ Acra Design โดยที่ตัวก้านล็อกเพลทจะมีระดับน้ำฝังมาให้สำหรับเช็คระนาบเมื่อถ่ายภาพแนวตั้ง หัวบอลนี้รับน้ำหนักได้ 15 กิโลกร้ม
Pan Head (PH-38) – เป็นหัวแพนแบบสามทิศทาง มีก้านบังคับ 2 อัน ที่สามารถหมุนถอดออกจากหัวได้ทันที และตัวก้านนี้จะมีปุ่มกดล็อก สำหรับยืด-หดความยาวของก้านได้ด้วย สะดวกต่อการเก็บในกระเป๋ายามเดินทาง ตัวฐานยึดเพลทก็ใช้ขนาดเดียวกับ Acra Design ช่างภาพที่ใส่ L-Plate ไว้ไม่ต้องถอดออกสามารถนำมาประกอบได้ทันที หัวแพนรุ่นนี้รับน้ำหนักได้ 6 กิโลกรัม ใช้เพลทรุ่น QS-65
ความแตกต่างของหัวสองประเภทนี้ เป็นลักษณะของงานมากกว่า ถ้าต้องการการปรับองศาละเอียด มีก้านจับมั่นคง ก็เทน้ำหนักไปที่หัวแพน แต่ถ้าใช้กับงานภาพนิ่ง หรือตั้งถ่ายวิดีโอนิ่งๆไม่ได้แพนอะไร หัวบอลก็เป็นคำตอบที่ใช่ ส่วนคุณสมบัติการปรับแกนกลางที่มีความอเนกประสงค์ (MACC) สามารถทำได้เหมือนกันเพราะใช้ขาตัวเดียวกันนั่นเอง จะต่างก็แค่ 3 ท่อน กับ 4 ท่อน พอคุณรู้หลักการในการเลือกใช้งานก็ทำให้ง่ายและมั่นใจต่อการตัดสินใจซื้อแล้ว อย่าลืมคิดถึง Vanguard ด้วยนะครับ…
สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.eepstore.com/p/886 และhttps://www.eepstore.com/p/887